กว่าจะมาเป็นถุงมุ้งหรือถุงคลุมพาเลทได้นั้น มีขั้นตอนในการผลิตเบื้องต้นอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมานำเสนอให้ทุกๆท่านทรายกันกัน ว่าถุงมุ้งถุงคลุมพาเลท มีขบวนการออกแบบและขั้นตอนการผลิตอย่างไรบ้าง
ขั้นตอนที่ 1: หาข้อมูลขนาดสินค้าและสั่งผลิตม้วน
ก่อนอื่นเราต้องทราบขนาดของพาเลทและความสูงของกล่องสินค้าที่ต้องการใช้งานก่อน เช่นในกรณีตัวอย่างนี้เรา สมมติให้พาเลทขนาด กxยxส: 1.0×1.2×1.5 เมตร
เมื่อได้ข้อมูลมิติของสินค้าแล้ว เราจะทำการสั่งผลิตม้วนพลาสติก โดยถุงคลุมพาเลทที่เราผลิตเป็นส่วนมากจะเป็นถุงคลุมพาเลทแบบประกอบ คือจะมีชิ้นส่วนเพียแค่ 2 ชิ้น คือ
- ม้วนสำหรับทำขอบด้านข้าง (Side sheet) => ซึ่งในกรณีนี้เราต้องการม้วนขอบความสูงที่ 1.5เมตร
- ม้วนสำหรับทำแผ่นหลังคา (Top sheet)=> ซึ่งกรณีนี้เราต้องการแผ่นหลังคาขนาด 1.0×1.2เมตร ซึ่งขนาดม้วนที่จะใช้ทำแผ่นหลังคา เราสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสม หรือแล้วแต่ความสะดวกในการผลิต คือเราสามารถผลิตม้วนหน้ากว้าง 1.0 เมตร เพื่อนำมาตัดเป็นแผ่นขนาด 1.0×1.2 เมตร หรือเราจะผลิตม้วนหน้ากว้าง 1.2เมตร แล้วนำมาตัดเป็นเป็นแผ่น 1.2 x 1.0 เมตรก็ได้แต่ในกรณีตัวอย่างนี้เราเลือกที่จะทำม้วนหน้ากว้าง 1.2เมตร มาตัดทำแผ่นหลังคา
ขั้นตอนที่ 2: คำนวณความยาวแผ่นขอบด้านข้าง (Side Sheet Calculation)
ขั้นตอนนี้เราจะทำการตัดแผ่นที่จะใช้ทำขอบด้านข้าง สำหรับกรณีนี้พาเลท กxย: 1×1.2เมตร เราสามารถคำนวณหาเส้นรอบวงได้คือ
เส้นรอบวง: 1+1.2+1+1.2 = 4.4 เมตร เราก็จะทำการตัดม้วนขอบหรือม้วนหน้ากว้าง 1.5เมตร ให้ได้ความยาว 4.4 เมตร หรือเราจะได้แผ่น 1.5×4.4 เมตร
จากนั้นทำทำการซีลด้วยเครื่องซีลความร้อนเพื่อเชื่อมต่อแผ่นให้ได้ถุงท่อรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาด: 1.0×1.2×1.5เมตร ตามรูปด้านบน ดังนั้นถุงมุ้งแบบประกอบจะมีรอยซีลด้านความสูง
ขั้นตอนที่ 3: คำนวณความยาวแผ่นหลังคา (Top Sheet Calculation)
หลังจากที่ได้ถุงท่อรูปทรงสี่เหลียมแล้ว ก็จะมาถึงขั้นตอนการทำแผ่นหลังคาเพื่อซีลปิดด้านบน
โดยในกรณีนี้จะทำการตัดแผ่นหลังคาตามขนาด กxย ของพาเลทคือ 1.0×1.2เมตร
แล้วทำการซีลประกอบติดกับถุงท่อที่ทำไว้ก่อนแล้ว โดยการซีลแผ่นหลังคาติดกับแผ่นขอบก็ได้มีรอยตะเข็บซีลตลอดทั้งสี่ด้าน
เราก็จะได้ถุงคลุมพาเลทแบบประกอบ ที่มีรอยซีล 4 รอยด้านบนและรอยซีลด้านแนวตั้งอีกหนึ่งรอยรวม 5 รอยซีล ซึ่งแข็งแรงเพียงพอต่อการใช้งานจริง
ในกรณีที่ขนาดพาเลทสินค้าทีขนาดเท่ากัน ซึ่งข้อดีของถุงมุ้งแบบประกอบเมื่อเทียบกับการใช้ถุงพับข้างขนาดใหญ่มาใช้คลุมพาเลทสินค้าคือ
ถุงคลุมพาเลทแบบประกอบจะใช้จำนวนพลาสติกน้อยกว่า (น้ำหนักน้อยกว่า) ถุงคลุมพาเลทแบบถุงพับข้าง (Gusseted Bags) ถึง 20-30% เลยทีเดียว นั้นแปลกว่าเราใช้ทรัพยากรน้อยลงตามไปด้วย ช่วยลดโลกร้อนไปอีกทางนึง แต่ก็มีข้อเสียคือไม่สามารถผลิตได้ด้วยเครื่องจักร ต้องใช้แรงงานคนล้วนๆ ก็จะมีต้นทุนเรื่องค่าแรงเป็นปัจจัยสำคัญ